วันอาทิตย์ที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2563

สินค้า ฉลากเขียว คืออะไร

ฉลากสีเขียว กลมๆ บนบรรจุภัณฑ์ของผลิตภัณฑ์ มันคืออะไร และมีความหมายอย่างไร

green label logo


ฉลากเขียว (Green Label) คือ ฉลากสิ่งแวดล้อมของประเทศไทย ที่มีองค์กรหน่วยงานที่เชื่อถือได้เป็นผู้ให้การรับรอง 
เพื่อแสดงว่าสินค้าได้รับการรับรองเป็นสินค้าที่มีองค์ประกอบ กระบวนการผลิต  การใช้งาน ตลอดจนถึงการทิ้ง 
ทำลายที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยกว่าสินค้าประเภทเดียวกันที่ไม่ได้รับการรับรองโดยคุณภาพยังอยู่ในระดับมาตรฐานที่กำหนด

สามารถหาข้อมูลการขอฉลากเขียว ได้ที่ : http://www.tei.or.th/greenlabel/index.html

วันพฤหัสบดีที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2563

เกณฑ์ CDPH คืออะไร


การทดสอบตามหลักเกณฑ์ CDPH


          เป็นเกณฑ์การทดสอบจากประเทศสหรัฐอเมริกาที่จัดทำขึ้นโดยองค์กร CDPH = California Department of Public Health ว่าด้วยเรื่องการทดสอบปริมาณสาร VOC ในผลิตภัณฑ์ 

Sunlight in the forest Free Photo
ที่มารูป : https://image.freepik.com/free-photo/sunlight-forest_1004-9.jpg

ผลิตภัณฑ์ที่จะได้รับการรับรองการทดสอบจาก CDPH จะต้องผ่านหลักเกณฑ์ ที่คิดจาก สภาวะ คือ
สภาวะห้องเรียน (สถานที่อากาศถ่ายได้มาก) และสภาวะห้องทำงาน (สถานที่อากาศถ่ายเทได้น้อย)

โดยทำการวัดปริมาณ VOC content หรือปริมาณสารระเหยในเนื้อผลิตภัณฑ์ 
และ VOC emission หรือปริมาณที่ผลิตภัณฑ์ปล่อยสาร VOC ออกมา 


ตัวอย่างของสาร VOC ในผลิตภัณฑ์ เช่น
ฟอร์มัลดีไฮด์ (Formaldehyde)
อะเซทัลดีไฮด์ (Acetaldehyde)
นอกจากนี้ยังมีสารอื่น ๆ อีกหลาย 10 ชนิด  ที่เป็นสารระเหยในจำพวก VOC ที่ต้องอยู่ในระดับเกณฑ์ที่กำหนด

การทดสอบตามหลักเกณฑ์ดังกล่าวนี้ไม่สามารถทำได้เอง ต้องดำเนินการส่งไปยังหน่วยงาน หรือสถาบันที่ได้รับการยอมรับจาก CDPH 

วันอังคารที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2563

ทำความรู้จัก อาคารเขียวไทย TREES คืออะไร

ประเทศไทยเองก็มีมาตรฐานสำหรับการประเมินอาคารเขียวไทยเองเช่นกัน
เช่นเดียวกับประเทศสหรัฐอเมริกาที่มี LEED, ประเทศอังกฤษที่มี BREEAM, ประเทศสิงคโปร์ที่มี GREEN MARK เป็นต้น

TGBI.OR.TH
ที่มารูป : https://www.tgbi.or.th/

มาตรฐานอาคารเขียวไทย ต้องผ่านการประเมินตาม เกณฑ์การประเมินความยั่งยืนทางพลังงนและสิ่งแวดล้อมไทย 
(Thai's Rating of Energy and Environmental Sustainability), TREES จากสถาบันอาคารเขียวไทย หรือ TGBI

เกณฑ์การประเมิน TREES นี้ ถูกออกแบบมาเพื่อให้มีความเหมาะสมกับบริบทของประเทศไทย นับได้ว่ามีความคล้ายคลึงกับมาตรฐานสากล LEED แต่เกณฑ์ของไทยเราเองนี้ มีความสอดคล้องกับความเป็นอยู่ และวิถีชีวิตของคนไทยมากกว่า ทำให้การขอรับรองอาคารเขียวด้วย TREES เป็นที่ยอมรับและสามารถทำได้ง่ายกว่า และมีแนวโน้มโครงการที่ขอมาตรฐานนี้เพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ในปัจจุบัน


TREES แบ่งระดับของอาคารที่ได้รับการประเมิน ออกเป็น 4 ระดับ ตามคะแนนที่ทำได้ ดังนี้

ระดับที่ได้รับการรับรอง    30-37 คะแนน
ระดับเงิน                        38-45 คะแนน
ระดับทอง                      46-60 คะแนน
ระดับแพลทินั่ม               61 คะแนนขึ้นไป



เกณฑ์การประเมินอคารเขียว TREES แบ่งออกเป็น 8 ข้อ ดังนี้

1. การบริหารจัดการอาคาร (Building Management)
2. ผังบริเวณและภูมิทัศน์ (Site and Landscape)
3. การประหยัดน้ำ (Water Conservation)
4. พลังงานและบรรยากาศ (Energy and Atmosphere)
5. วัสดุและทรัพยากรในการก่อสร้าง (Materials and Resources)
6. คุณภาพของสภาวะแวดล้อมภายในอาคาร (Indoor Environmental Quality)
7. การป้องกันผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม (Environmental Protection)
8. นวัตกรรม (Green Innovation)

วันจันทร์ที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2563

ทำความรู้จัก มาตรฐาน WELL คืออะไร


หลายท่านอาจจะรู้จักมาตรฐานอาคารสีเขียวที่ได้รับความนิยมอย่าง มาตรฐาน LEED กันมาบ้างแล้ว

ต่อไปจะขอแนะนำให้รู้จักกับมาตรฐาน WELL-BEING ที่ถือได้ว่ามาแรงในโครงการก่อสร้างอาคารใหม่ หลายท่านอาจมีคำถามในใจ

ทำไมมาตรฐาน WELL-BEING จึงได้รับความสนใจ ?
มาตรฐาน WELL-BEING แตกต่างกับ LEED อย่างไร


ที่มารูป : https://missiontothemoon.co/well-being/

ทั่วโลกได้มีความตระหนักมากขึ้นเกี่ยวกับสุขภาพอนามัยของมนุษย์เรา อีกทั้งหลายประเทศได้มีการก้าวเข้าสู่สังคมวัยชรา
ดังนั้น การให้ความสำคัญกับที่อยู่อาศัย ที่จะก่อให้เกิดความเป็นอยู่ที่ดีแก่ผู้อาศัย ทั้งในแง่ของสุขภาพกายและสุขภาพจิต จึงเข้ามามีบทบาทสำคัญอย่างมากในงานก่อสร้างสมัยใหม่


มาตรฐาน WELL มีความแตกต่างจากมาตรฐาน LEED
ในประเด็นที่มีการประเมินคุณภาพของตึกโดย WELL-BEING จะมองไปที่สิ่งที่ผู้อยู่อาศัยได้รับเป็นหลัก
แต่ในมาตรฐาน LEED จะมุ่งประเด็นไปที่ตัวอาคารเสียมากกว่า

อย่างไรก็ตาม ทั้งสองมาตรฐานนี้อาจไม่สามารถเปรียบเทียบกันได้อย่างชัดเจน ว่าสิ่งไหนเหนือกว่าสิ่งไหน
ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของผู้ออกแบบเจ้าของโครงการเป็นสำคัญ



หัวข้อเกณฑ์การประเมิน WELL-BEING


วันอาทิตย์ที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2563

ทำความรู้จัก มาตรฐาน LEED คืออะไร

LEED คือ มาตรฐานอาคารสีเขียว ถูกพัฒนาโดย U.S. Green Building Council (USGBC) 
มีต้นกำเนิดมาจากประเทศสหรัฐอเมริกา ในปัจจุบันถือได้ว่าเป็นมาตรฐานที่ได้รับความนิยมของโลก


                                                          


LEED ย่อมาจาก (Leadership in Energy and Environmental Design) เน้นการพัฒนาที่ก่อให้เกิดความยั่งยืน ตั้งแต่กระบวนการผลิตวัสดุก่อสร้าง 
การออกแบบโครงการต้องตอบสนองการใช้งาน ไปจนถึงความรับผิดชอบต่อสังคมที่จะไม่ส่งผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมจากการก่อสร้างถึงคนรุ่นหลัง
โดยใช้วิธีการผ่านกฏเกณฑ์ที่ถูกกำหนดมาในหัวข้อต่าง ๆ ดังนี้

เกณฑ์การประเมินอาคารเขียว V.4
LEED
ที่มารูป : https://www.usgbc.org/

1. ผังบริเวณและภูมิทัศน์ (Site Sustainability)
2. ประสิทธิภาพการใช้น้ำ (Water Efficiency)
3. การใช้พลังงานและบรรยากาศ (Energy and Atmosphere)
4. วัสดุและการก่อสร้าง (Materials and Resource)
5. คุณภาพสภาวะแวดล้อมในอาคาร (Indoor Environmental Quality)
6. นวัตกรรมสีเขียว (Innovation and Design Process)
7. การให้ความสำคัญแก่ภูมิภาค (Regional Priority Credits)


ไม่ใช่ว่าการประเมินมาตรฐาน LEED จะมีแค่ผ่านหรือไม่ผ่านเท่านั้น
แต่ยังแบ่งออกเป็นระดับของการรับรอง ตามคะแนนที่สามารถทำได้จากคะแนนเต็ม LEED 110 คะแนน


ระดับการรับรองมาตรฐาน LEED แบ่งออกเป็น 4 ระดับ คือ
1. LEED Certified (40-49 points)
2. LEED SILVER (50-59 points)
3. LEED GOLD (60-79 points)
4. LEED PLATINUM (80+ points)





วันเสาร์ที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2563

มาตรฐานอาคารสีเขียว คืออะไร

ทำความรู้จัก มาตรฐานอาคารสีเขียว

ความหมายของอาคารสีเขียวไม่ได้หมายถึงอาคารที่มีสีเขียวหรืออาคารที่ปลูกต้นไม้ร่มรื่น
แต่เป็นการพูดถึงอาคารสิ่งปลูกสร้างที่ผ่านมาตรฐานอาคารสีเขียว

จุดประสงค์ของ มาตรฐานอาคารสีเขียว จริง ๆ แล้วมีไปเพื่ออะไรกันแน่??



ต้องขอเกริ่นนำก่อนว่า ปัญหาภาวะโลกร้อนและมลพิษของโลก
วงการงานก่อสร้างถูกกล่าวได้ว่าเป็นผู้ร้ายคนสำคัญของปัญหานี้
ไม่ว่าจะกระบวนการผลิตได้มาซึ่งวัสดุก่อสร้าง ไปจนถึงขั้นตอนการก่อสร้าง


ดังนั้นจึงได้มีการกำหนดมาตรฐานสำหรับอาคารขึ้นมา หรือที่เราเรียกว่า
มาตรฐานอาคารสีเขียว (Green Building)


มาตรฐานอาคารเขียวได้สร้างกฏเกณฑ์ขึ้นมา เพื่อควบคุมงานก่อสร้างตั้งแต่ขั้นตอนแรกจนถึงการใช้งาน
- กระบวนการผลิตวัสดุก่อสร้าง ที่ต้องมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมต่ำ เช่น การปล่อย CO2 ในขณะผลิตต่ำ
- การออกแบบอาคารที่เอื้อต่อการเดินทางด้วยระบบรถขนส่งสาธารณะเพื่อประหยัดพลังงาน
- การเลือกใช้วัสดุก่อสร้างที่มีความปลอดภัยกับผู้ใช้งานภายในอาคาร เช่น สาร VOC
- การออกแบบให้มีการใช้พลังงานภายในได้อย่างประหยัดและคุ้มค่า
ทั้งหมดที่กล่าวมา เป็นเพียงตัวอย่างของกฏเกณฑ์ที่ใช้สำหรับอาคารสีเขียวเท่านั้น

ทำความเข้าใจกันก่อนว่า คำว่ามาตรฐานอาคารสีเขียว คือภาพใหญ่ของเรื่องนี้
รายละเอียดของอาคารสีเขียวแต่ละแห่ง ก็จะแตกต่างกันไปตามมาตรฐานที่เลือกใช้
ตัวอย่างเช่น
LEED (Leadership in Energy & Environmental Design) จากสหรัฐอเมริกา
Well-Being standard จากสหรัฐอเมริกา
BREEAM จากอังกฤษ
TREES หรือมาตรฐานอาคารเขียวไทย

สินค้า ฉลากเขียว คืออะไร

ฉลากสีเขียว กลมๆ บนบรรจุภัณฑ์ของผลิตภัณฑ์ มันคืออะไร และมีความหมายอย่างไร ฉลากเขียว (Green Label)   คือ ฉลากสิ่งแวดล้อมของปร...